• Skip to primary navigation
  • Skip to main content
  • Skip to primary sidebar

Stock Tips DD

หุ้น เล่นหุ้นให้รวย และมีความสุข กำไร แบบไม่ต้องกังวล

  • Home
  • เริ่มเล่นหุ้นต้องทําอย่างไร
  • พื้นฐานการเล่นหุ้น
  • โบรกเกอร์หุ้น
You are here: Home / พื้นฐานการเล่นหุ้น / เงินน้อยควรลงทุนหุ้นประเภทไหนดี?

เงินน้อยควรลงทุนหุ้นประเภทไหนดี?

by StockTips 9 Comments

2.2Kshares
  • Share 2.2K
  • Tweet

เงินน้อยควรลงทุนหุ้นประเภทไหนดี? คำถามแนวนี้ เป็นคำถามหนึ่งที่ผมมักจะเจอบ่อยๆ ต้องขอตอบตรงๆ ว่า สามารถลงทุนหุ้นได้ทุกประเภท ทุกตัวเลยครับ 🙂 ไม่ว่าเพื่อนๆ จะมีเงินเท่าไหร่ก็ตามครับ

ในการจะเริ่มลงทุนในหุ้นนั้น เงินเดือน หรือรายได้ ของเพื่อนๆ จะเท่าไหร่ไม่สำคัญ แต่มันสำคัญตรงที่ว่า เราจะจัดสรรแบ่งเงินเหล่านั้นมาลงทุนได้อย่างไร จะทำให้มันงอกเงยมากขึ้นได้อย่างไรตากหาก จริงมั้ยครับ 🙂

เล่นหุ้นด้วยทุนน้อย

เรามาดูกันดีกว่าว่าพอจะมีลู่ทางใดบ้าง ที่จะทำให้เริ่มเล่นหุ้นได้แม้จะด้วยทุนที่ไม่มากนักก็ตาม

สำหรับท่านที่มีทุนเริ่มต้นน้อย ผมขอแนะนำหลักการง่ายๆในการลงทุนหุ้นที่เหมาะสมกับทุนทรัพย์ของเพื่อนๆ ดังนี้ครับ

เล่นหุ้น สะสมหุ้น ให้เหมือนกับฝากประจำ

ผมเชื่อว่าเพื่อนๆ ที่ทำงานและคิดจะเก็บเงินก็น่าจะมีการฝากเงินและก็น่าคุ้นเคยกับการฝากประจำเป็นอย่างดี ซึ่งธนาคารเขาก็มีดอกเบี้ยให้ แต่มันก็น้อยนิดจนบางทีเงินมันก็โตหนีเงินเฟ้อไม่ไหว

ดังนั้นแทนที่จะสะสมเงินกินดอกเบี้ยเราลองเปลี่ยนมาสะสมหุ้นกินปันผลกันดีกว่า เงินเราโตได้ดีกว่า และก็เอาชนะเงินเฟ้อได้อย่างแน่นอน

ส่วนวิธีการก็ แบ่งเงินเดือนของเพื่อนๆ ออกมาบางส่วนโอนเข้าบัญชีหุ้น ที่เราเปิดกับโบรกเกอร์ต่างๆ (ถ้าโอนเข้าไปแช่ไว้แต่ยังไม่ได้ซื้อหุ้นอะไร ก็ไม่ต้องกลัวว่าเงินเราจะเข้าไปแช่เฉยๆ เพราะโบรกเขาก็มีดอกเบี้ยให้เหมือนกันครับ 🙂 )

พอโอนเข้าไปแล้ว มีวิธีสะสมหุ้นอยู่สองแบบให้เลือกตามด้านล่างเลยครับ

  • วิธีแรก สะสมเงินไว้ทุกเดือน เดือนล่ะเท่าๆ กัน แล้วรอซื้อหุ้นที่เราหมายตาไว้ทีเดียวเลย ในช่วงที่ราคามันปรับตัวลงแรง แต่ต้องลงชั่วคราวแบบที่พื้นฐานหลักมันไม่เปลี่ยนนะครับตัวอย่างสมมติ เช่น หุ้นค้าปลีกตกชั่วคราวเพราะนักลงทุนบางส่วนกังวลว่าลูกค้าจะลดลงเพราะน้ำท่วม แบบนี้เราก็เข้าเก็บได้เพราะว่าหลังน้ำท่วม คนก็ยังต้องกินต้องใช้ ยังไงคนก็ต้องกลับมาจับจ่ายใช้สอยสร้างรายได้ให้กับหุ้นค้าปลีกของเราเหมือนเดิม เป็นต้น 🙂

    ส่วนใหญ่ในหนึ่งปี มักจะมีช่วงที่หุ้นลงแรงๆ อยู่ 2 ถึง 3 ครั้ง เพียงแต่เราหาโอกาศเข้าเก็บหุ้นช่วงนั้นให้ได้ เราก็จะได้หุ้นที่มีต้นทุนต่ำที่พร้อมจะทำกำไรให้เราในระยะยาวได้อย่างยั่งยืนแล้วครับ

  • วิธีที่สอง ซื้อหุ้นตัวที่เราหมายตาไว้ทุกเดือนเลยโดยไม่ต้องสนราคาว่าจะเป็นเท่าไหร่ เพียงแค่เราซื้อสะสมเก็บเข้าพอร์ตเรื่อยๆ เป็นประจำทุกเดือน วิธีการนี้มีข้อแม้อยู่ว่า เราจะต้องเลือกหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตไปเรื่อยๆ ในระยะยาวเท่านั้น เพราะมันจะทำให้เงินทุนของเราสามารถโตได้ในระยะยาวด้วยเช่นกัน สำหรับเพื่อนที่สนใจวิธีสะสมหุ้นแบบทะยอยสะสมทุกเดือนแบบนี้ ผมแนะนำให้เข้าไปดูแนวทางการลงทุนที่ชื่อว่า 7thLTG ที่ Blog ของ คุณสุมาอี้ นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์ ครับ รับรองไม่ผิดหวัง ทั้งง่าย และทำได้จริง แน่นอน 🙂

ซื้อหุ้นให้เหมือนกับเราเข้าไปซื้อกิจการ หรือเหมือนกับเข้าหุ้นกับเพื่อน

อันนี้ง่ายๆ เลย ด้วยแนวคิดนี้มันจะทำให้เรารู้สึกเป็นเจ้าของร่วมจริงๆ และถือเป็นหลักการพื้นฐานของการลงทุนแบบเน้นคุณค่า(VI) ก็ว่าได้ครับ

โดยก่อนเข้าไปซื้อหุ้นนั้นๆ เราก็ควรจะต้องรู้ให้ครบเสียก่อนว่า หุ้นของบริษัทที่เราจะซื้อ เขาทำมาค้าขายอะไร ทำธุรกิจเกี่ยวกับอะไร ลูกค้าเขาเป็นใคร ตลาดที่ทำธุรกิจอยู่แข่งกันดุเดือดไหม เขาเป็นเบอร์ที่เท่าไหร่ของตลาดนั้น รายรับเป็นอย่างไร รายจ่ายเป็นอย่างไร มีกำไรต่อเนื่องหรือเปล่า และสุดท้ายตัวผู้บริหารซื่อสัตย์ไหม พูดอะไรไว้ สัญญาอะไร ทำได้อย่างนั้นหรือเปล่า อันนี้ก็สำคัญเช่นกัน

ถ้าหากเป็นร้านค้า หรือธุรกิจพวกบริการ ถ้ามีสาขาอยู่ใกล้บ้านเราก็อาจจะแอบเข้าไปสำรวจซะหน่อย 🙂 ว่าคนเข้าใช้บริการเยอะไหม คนใช้แล้วประทับใจบ้างหรือเปล่า

ทำเหมือนกับเป็นธุรกิจของเราจริงๆ เราจะซื้อกิจการจริงๆ ซึ่งมันจะทำให้เราได้ข้อมูลได้อย่างครบถ้วนว่าเราควรจะร่วมหัวจมท้ายกับเจ้าหุ้นตัวนี้ แบบระยะยาว ดีหรือเปล่า 🙂

อย่ากังวลไปเลยครับว่าทุนน้อยแล้วจะลงทุนหุ้นไม่ได้ ทุกอย่างเป็นไปได้ถ้าเราตั้งใจจะทำมันจริงๆ

บ้างท่านถึงเงินทุนจะน้อย แต่ได้มีการแบ่งเงินมาสะสมหุ้น เริ่มลงทุนกันแต่เนิ่นๆ จากทุนน้อย เริ่มจากรายย่อยธรรมดา ก็ขยับขยายกลายมาเป็นรายใหญ่ มีกำไรอย่างยั่งยืนในตลาดหุ้น ก็มีให้เห็นกันมานักต่อนักแล้วครับ ดังนั้นอย่ามัวแต่สงสัยอยู่เลย มาเริ่มต้นลงทุนในหุ้นตั้งแต่วันนี้ กันดีกว่าครับ 🙂

2.2Kshares
  • Share 2.2K
  • Tweet

บทความที่เกี่ยวข้อง:

  1. จะเริ่มเล่นหุ้นต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ต้องรู้อะไรบ้างในเบื้องต้น
  2. หุ้นคืออะไร? เรื่องง่ายๆ ที่นักลงทุนมือใหม่ต้องรู้
  3. ซื้อหุ้นเอง กับ ซื้อกองทุนรวม อันไหนดีกว่ากัน?
  4. การลงทุนออมหุ้นแบบ DCA ทำอย่างไร? แล้ววิธีนี้ดีไหม?

Reader Interactions

Comments

  1. สุวัฒน์ คำเมือง says

    July 17, 2013 at 9:00 am

    สนใจอยากเล่นหุ้นบ้าง แต่ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย ทุนมีน้อย เนื่องจากอีก 4 ปีจะเกษียณอายุแล้ว
    ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ทดลองอ่านเน็ตมาได้ 10 วันแล้ว ยังไม่กระจ่าง ขอเบอร์โทร. ด้วยครับ

    Reply
  2. korn success says

    July 24, 2013 at 6:41 am

    ขอบคุณครับ อยากถามถ้าเราสะสมเงินกับหุ้นแบบรายเดือน ๆ ละ เท่าๆกัน แต่ถ้ามีมากกว่านี้เราก็สามารถสะสมในเดือนนั้นได้ใช่ไหมครับ และถ้ามีน้อยกว่าเดือนอื่น ๆ เค้าจะเฉลี่ยเดือนที่มากให้เท่ากับทุก ๆ เดือนไหมครับ (เพราะผมทำงานค้าขายรายได้ขึ้นลงตามสถานการณ์การขาย) ขอบคุณครับ

    Reply
    • Joe says

      September 8, 2013 at 3:09 pm

      คือเท่าที่ทราบเขาจะกำหนดเป็นวงเงินที่เราจะต้องสะสมต่อเดือนไว้ครับ (คล้ายๆ ฝากประจำตามธนาคาร) นั่นก็หมายความว่า ถ้าเดือนไหนหุ้นราคาถูกมากๆ เราก็จะได้จำนวนหุ้นเยอะกว่าช่วงที่หุ้นมันราคาแพงๆ ครับ

      เช่น เอาเงินเข้าพร์อตไว้ 2000 บาททุกเดือน กำหนดให้ซื้อหุ้น A ทุกต้นเดือน
      สมมุติ
      ถึงวันที่กำหนดของเดือนที่ 1 หุ้น A ราคา 10 บาท เดือนนี้เราก็จะสะสมได้ 200 หุ้น
      ถึงวันที่กำหนดของเดือนที่ 2 หุ้น A ราคา 5 บาท เดือนที่ 2 นี้เราก็จะสะสมได้ 400 หุ้น
      ถึงวันที่กำหนดของเดือนที่ 3 หุ้น A ราคา 20 บาท เดือนที่ 3 นี้เราก็จะสะสมได้ 100 หุ้น
      ผ่านไป 3 เดือน รวมแล้วเราก็จะสะสมหุ้น A ไปได้ 700 หุ้น
      แบบนี้เป็นต้นครับ

      Reply
      • StockTips says

        September 8, 2013 at 3:34 pm

        ขอบคุณคุณ Joe ที่มาช่วยตอบนะครับ

        ขอเสริมนิดนึง มันจะมีสองแบบนะครับ
        1. เราจะเปิดโบรกเกอร์แล้วออมเองก็ได้ แบบนี้ก็ต้องมีวินัยในการใส่เงินเข้าพร์อตเป็นประจำทุกเดือน และต้องซื้อขั้นต่ำ 100 หุ้นขึ้นไป ไม่สามารถซื้อย่อยเป็นเศษหุ้นได้
        2.แบบไปใช้บริการโบรกเกอร์ที่มีโปรแกรมออมหุ้นเลย แบบนี้จะสะดวกหน่อย เขาจะมีบริการตัดเงินจากบัญชีเลย 🙂 แล้วก็สามารถซื้อเป็นเศษหุ้นได้ ไม่ต้องให้ลงตัวที่หลักร้อย เช่น ซื้อ 12 หุ้น หรือ 253 หุ้น ก็ซื้อได้

        สำหรับโบรกเกอร์ที่เปิดโปรแกรมออมหุ้นนั้น เท่าที่เช็คดูตอนนี้ มีอยู่ 2 ที่ ที่มีบริการแนวนี้นะครับ
        1. โปรแกรม Easy Wealth Bulider หรือ EWB ของ บริษัทหลักทรัพย์ CIMB ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.cimbsecurities.co.th/files/EWB5000.pdf
        2. โปรแกรม Share Buliders Plan หรือ SBP ของ บริษัทหลักทรัพย์ Phillip ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.poems.in.th/SBP/

        ท่านที่ชอบแนวนี้ก็ลองเข้าไปเช็คดูนะครับ 🙂

        Reply
  3. ดา says

    April 29, 2014 at 9:40 am

    อยากเล่นหุ้น เงินน้อย แต่ไม่เข้าใจค่ะ. ขอคำแนะนำหน่อยค่ะ

    Reply
    • ดา says

      April 29, 2014 at 9:44 am

      ใครใจดีแนะนำหน่อย ค่ะ ขอเบอร์ก็ได้ค่ะ อ่านในอินเตอร์มาหลายวันแล้วค่ะก็ยังไม่เข้าใจ ไม่รู้จะเริ่มต้น ยังไงดีค่ะ

      Reply
  4. wpwebdd says

    April 10, 2015 at 8:03 am

    ถึงเงินลงทุนธุรกิจน้อย แต่ก็ถือว่าเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง

    Reply

Trackbacks

  1. 5 คุณสมบัติของหุ้นดีที่น่าซื้อถือลงทุนยาวๆ มีอะไรบ้าง | Stock Tips DD says:
    March 10, 2015 at 9:03 am

    […] […]

    Reply
  2. การลงทุนหุ้นแบบ DCA ทำอย่างไร? แล้ววิธีนี้ดีไหม? | Stock Tips DD says:
    June 12, 2015 at 7:42 am

    […] ทุนน้อยก็เริ่มลงทุนได้ วิธีนี้สามารถเริ่มลงทุนได้ด้วยการใช้เงินลงทุนต่องวดในแต่ล่ะเดือนไม่มากนัก จึงเหมาะกับนักลงทุนที่อาจจะมีทุนเริ่มต้นไม่มากที่ต้องการออมเงินไว้ในหุ้นด้วยการสะสมหุ้นเพื่อให้เงินทำงานและได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการฝากเงินไว้เฉยๆ […]

    Reply

Leave a Reply Cancel reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

Primary Sidebar

Advertisements

โพสต์หุ้นล่าสุด

  • วิเคราะห์คุณภาพหุ้นด้วย Five Forces Model ทำอย่างไร?
  • การลงทุนออมหุ้นแบบ DCA ทำอย่างไร? แล้ววิธีนี้ดีไหม?
  • 5 คุณสมบัติของหุ้นดีที่น่าซื้อถือลงทุนยาวๆ มีอะไรบ้าง
  • หุ้นขึ้นก็ Happy หุ้นลงก็ Happy มีแนวทางลงทุนอย่างไร?
  • 10 หนังสือหุ้นแนว VI ที่คุณไม่ควรพลาด

หมวดหมู่หุ้น

  • พื้นฐานการเล่นหุ้น
  • หุ้น
  • หุ้นเชิงพื้นฐาน
  • โบรกเกอร์หุ้น

StockTipsDD.com

  • Privacy Policy
  • ติดต่อเรา
  • เกี่ยวกับเรา

Copyright © 2021 · www.StockTipsDD.com